Free Cursors

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกอนุทินครั้งที่10

🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋

 💡 บันทึกอนุทินครั้งที่10 📝


วันอังคารที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30 น.


📚 กิจกรรมในห้องเรียน📚

🚩กิจกรรมที่1

 🍌🍌 วันนี้อาจารย์ได้เปิด คลิปวิดิโออ่านสร้างสุข วิดีโอนี้สอนทั้งวิธีการอ่าน วิธีการสร้างผลงานจากนิทาน

จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปห้องสมุดเพื่อค้นว้าหาหนังสือนิทานแล้วทำสื่อพัฒนาลูกรัก


📊 ประเมินอาจารย์ผู้สอน เพื่อนและตนเอง 📈


💭 ประเมินอาจารย์ผู้สอน 👩‍🏫

อาจารย์มาตรงเวลา มีการเตรียมสื่อมาให้นักเรียนอย่างพร้อมเพียง

💭 ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน 👩

มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีความคิดและกล้าแสดงออก

💭 ประเมินตนเอง 👧

มีส่วนร่วมและตั้งใจทำกิจกรรม






🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋🦋


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกอนุทินครั้งที่9

 🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒


💡 บันทึกอนุทินครั้งที่9 📝


วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ 2563

เวลา 08.30 - 12.30 น.


📚 กิจกรรมในห้องเรียน📚

🚩กิจกรรมที่1

วาดภาพแหล่งน้ำที่ใดก็ได้ โดยให้มีจุดเด่นและสัญลักษณ์บ่งบอกแหล่งน้ำนั้น
ทักษะที่ได้รับ
🦜 ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในการเลือกแหล่งน้ำหรือแม่น้ำที่จะวาดภาพ
🦜 ใช้ความคิดในการหาจุดเด่นขอแหล่งน้ำนั้นและเกิดทักษะการทำงานร่วมกัน

🦜 ได้ร่วมทายแหล่งน้ำที่อื่นๆ ใช้การสังเกตจุดเด่น

ภาพแม่น้ำ


🚩กิจกรรมที่2

สร้างสไลด์เดอร์จากหลอดดูดน้ำ 25 อันและเทปใส 
โดยจะมีก้อนดินน้ำมันกลิ้งจากจุดปล่อย ดินน้ำมันกลุ่มใดมีระยะเวลานานที่สุดก็ชนะ

ทักษะที่ได้รับ
🦔 ได้ฝึกการวางแผนก่อนที่จะลงมือทำ มีการร่างดครงสร้างของสไลด์เดอร์ก่อนที่จะลงมือทำ
🦔ได้คิดวิเคราะห์โครงสร้างของสไลด์เดอร์ ทำอย่างไรให้ดินน้ำมันไหลลงมาช้าที่สุด
🦔ได้ทดลองผิดลองถูกและได้เกิดการแก้ปัณหา







🚩กิจกรรมที่3

ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ

วิธีการทำคือ 
1. พับครึ่งกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพับครึ่งอีกครั้งให้ได้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดเล็ก
2. พับครึ่งให้เป็นสามเหลี่ยม
3. ตัดมุมด้านบนให้เป็นทรงกลีบดอกไม้
4. คลี่ออกมาจะได้ดอกไม้

ทักษะที่ได้รับ
 🔥ได้ทักษะการพับ/ตัดกระดาษ
 🔥 ออกแบบดอกไม้และสีของดอกไม้



📊 ประเมินอาจารย์ผู้สอน เพื่อนและตนเอง 📈

💭 ประเมินอาจารย์ผู้สอน 👩‍🏫

อาจารย์มาตรงเวลา มีการเตรียมสื่อมาให้นักเรียนอย่างพร้อมเพียง

💭 ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน 👩

มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีความคิดและกล้าแสดงออก

💭 ประเมินตนเอง 👧

มีส่วนร่วมและตั้งใจทำกิจกรรม






 🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒🦒


 








บันทึกอนุทินครั้งที่8

 🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱


💡 บันทึกอนุทินครั้งที่8 📝


วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ 2563

เวลา 08.30 - 12.30 น.


📚 กิจกรรมในห้องเรียน📚

🚩กิจกรรมที่1

อาจารย์เปิดคลิปวิดิโอหมีจ๋าขี้สงสัย เรื่อง ของอากาศ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทำการทดลองจากวัสดุอุปกรณ์ของรอบตัวต่างๆ เช่น กระดาษขวดโหล หลอดน้ำ ลูกโป่ง ใบไม้ นำมาทดลองในเรื่องของ อากาศ หลังจากที่ดูเสร็จก็ได้เขียนแผนภาพความคิดจากสิ่งที่ได้ดู 

👇👇👇

สามารถดู Padlet ได้ที่นี่  


📊 ประเมินอาจารย์ผู้สอน เพื่อนและตนเอง 📈

💭 ประเมินอาจารย์ผู้สอน 👩‍🏫

อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนเข้าใจและมีการใช้สื่อได้ดี

💭 ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน 👩

เพื่อนสนใจทำกิจกรรมได้ดี และแต่งตัวถูกระเบียบ

💭 ประเมินตนเอง 👧

สนใจตั้งใจทำกิจกรรม ส่งงานตรงเวลา






 🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱🐱

สรุปบทความคณิตศาสตร์

☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔


📐 สรุปบทความคณิตศาสตร์ 📏

เรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก ( สำหรับเด็กปฐมวัย )

โดย 

นางวรารัตน์  สิริจิตราภรณ์

โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)

🍰🍰🍰🍰

ดูบทความคณิตศาสตร์ได้ที่นี่  

 🍯เนื้อหาของบทความ 🍯

ถ้าพูดถึงคำว่า “ คณิตศาสตร์ ” สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยากในความคิดของเด็ก แต่เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ได้โดยหาวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย พัฒนาการของเด็กดังเช่นเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการเล่น และได้สัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน  ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดหาวิธีในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย บางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก  ลูกบอล ตัวต่อ ฯลฯและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เช่นในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไม้ดอกไม้ประดับ และต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการจำแนกสิ่งต่างๆเราสามารถจัดเด็กเป็นกลุ่มย่อยและนำสื่อของจริงเช่นดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีสีต่างๆมาให้เด็กสังเกตและจำแนกดอกไม้ตามชนิด  สี กลิ่นของดอกไม้   นอกจากนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้อีก และเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของกลุ่มของตนเองโดยวิธีการวาดภาพหรือการเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนๆปรบมือให้กำลังใจ    ผู้เขียนคิดว่าวิธีการจัดประสบการณ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






                    ☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔☔



บันทึกอนุทินครั้งที่7

 🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀


💡 บันทึกอนุทินครั้งที่7 📝


วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ 2563

เวลา 08.30 - 12.30 น.


📚 กิจกรรมในห้องเรียน📚

🚩กิจกรรมที่1

🍟 ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกันนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม

🍹 คุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ 3R ละ 8C  🍹
3R คือ Reading - อ่านออก
          ( W )Riting - เขียนได้
          ( A )Rithmaticมีทักษะในการคำนวณ
8C คือ Critical Thinking and Problem Solving  : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้ 
           Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
           Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
           Communication Information and Media Literac
y : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
           Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
           Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 
           Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
           Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี

 🧭ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ 🧭

        🍫  - การดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ

        🍫 - ผลผลิตต่างๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกใบนชีวิตและการทำงาน

        🍫 - คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้

        🍫   - ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

🥪 ประเมิน อาจารย์ผู้สอน เพื่อนตนเอง 🥪

💭 ประเมินอาจารย์ 👩‍🏫

อาจารย์มีเนื้อหาการสอนที่ดี ครอบคลุม อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจ อาจารย์มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัดแม้ไม่ได้ใช้ไมค์เป็นตัวช่วยในการขยายเสียง 

💭 ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน 👩

เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยกันทำงานได้ดี

💭 ประเมินตนเอง 👧

มาเรียนตรงเวลา มีความตั้งใจในการทำงานได้ดี




 🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀🦀




สรุปบทความวิทยาศาสตร์

 🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁


🚀🚀 สรุปบทความวิทยาศาสตร์ 🌋🌋

เรื่อง เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาสตร์น้อย


👉👉คลิกดูบทความได้ที่นี่👈👈


🐝 เนื้อหาของบทความ 🐝

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นโครงการที่พัฒนากิจกรรมสำหรับเด็กระดับปฐมวัย ในด้านกระบวนการคิด สร้างพื้นฐานความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สสวท. ดังนั้น สสวท. จึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนต่าง ๆ โดยมีโรงเรียนระดับปฐมวัยที่ได้ใช้แนวทางของโครงการเกินกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมดที่จัดการศึกษาปฐมวัยทั่วประเทศ” ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าว
กิจกรรม   “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?” เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
 มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบายเริงลม
กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง


กิจกรรม “ความลับของดิน” เด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย  เป็นต้น

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวต่อไปว่า “ประโยชน์ที่ได้รับจากงานนี้คือประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ ปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การได้เข้าใจโลกในมุมกว้าง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป”




              🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁

บันทึกอนุทินครั้งที่6

 🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭


💡 บันทึกอนุทินครั้งที่6 📝



วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ 2563

เวลา 08.30 - 12.30 น.


📚 กิจกรรมในห้องเรียน📚

🚩กิจกรรมที่1

🐙 สาระที่ 3 เรขาคณิต ข้างบน ข้างล่าง ด้านหลัง ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ การจำแนกทรงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย กระบอก วงกลม และสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

🐾  อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำคือ สร้างรูปเรขาคณิตจากไม้และดินน้ำมัน 🐾






🐙  สาระที่ 4 พีชคณิต เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุดจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งของต่างๆ
🐙 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็ การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถา
🐙 สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคณิตสาสตร์


🥬 ประเมิน อาจารย์ผู้สอน เพื่อนตนเอง 🥬


💭 ประเมินอาจารย์ 👩‍🏫

 อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ทำตลอดทั้งชั่วโมง อธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างให้ได้นึกตาม

💭 ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน 👩

เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม

💭 ประเมินตนเอง 👧

มาเรียนตรงเวลาไม่สายไม่มาช้า แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด






 🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭🥭


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกอนุทินครั้งที่5

 🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞


💡 บันทึกอนุทินครั้งที่5 📝


วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ 2563
เวลา 8.30 - 12.30 น.


📚 กิจกรรมในห้องเรียน📚

🚩กิจกรรมที่1

🐞 อาจารย์ให้เด็กออกมานำเสนอชื่อตัวเองที่ได้เขียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และให้นักเรียนเขียนตัวเลขไว้ด้านหลังเพื่อให้เพื่อนทายว่าตัวเลขนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับเรา
🐞 ให้เพื่อนออกไปพูดสรุปบทความ วิจัยคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ หน้าช้นเรียน
🐞 ให้นำเสนอของเล่นคณิตศาสตร์ที่นักเรียนได้ไปหามา
🐞 อาจารย์สอนร้องเพลงและสอนการเข้าจังหวะของแต่ละเพลง


                                          📊 ประเมิน อาจารยผู้สอน เพื่อนและตนเอง 📈


💭 ประเมินอาจารย์ 👩‍🏫

อาจารย์สอนได้น่าสนใจ มีความหลายหลายไม่น่าเบื่อ มีคำพูดที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน

💭 ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน 👩‍🏫

เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบมาเรียน ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

💭 ประเมินตนเอง👩‍🏫

มาเรียนตรงตามเวลา ไม่พูดคุยหรือเล่นขณะที่อาจารย์สอน ส่งงานตรงตามเวลา










                              🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞