Free Cursors

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉

🚀🚀 สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์ 🌋🌋

เรื่อง การพัฒนาการคิดทางบวกสำหรับเด็กปฐมวัยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ปริญญานิพนธ์
ของ
ปรมาภรณ์   ทองสุ

👇👇👇👇

💌 คลิ๊กดูวิจัยได้ที่นี่ 💌


วัตถุประสงค์ของวิจัย 🌱

1.  เพื่อศึกษาการคิดทางบวกของเด็กปฐมวัย  ที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ก่อนและหลังการทดลอง
2.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดทางบวกของเด็กปฐมวัย  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกตก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย 🌼

             การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงผลของกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  ที่มีต่อความสามารถในการคิดทางบวกของเด็กปฐมวัย  ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน  และ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ในการพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัยและการจัดกิจกรรม 
 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวกับความสามารถในการคิดโดยเฉพาะการคิดทางบวกซึ่งเป็นการมองโลดในทางที่ดี

ขอบเขตของการวิจัย 💫

         ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
         ประชากรที่ใช้ในการวิจัย   
         ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี 
ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนอนุบาลกันทรารมย์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 1 จำนวน
 ห้องเรียนทั้งหมด 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 120 คน
         👉👉 กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย 👈👈

           กลุุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชาย-หญิง  อายุระหว่าง 5-6 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนอนุบาลกันทรารมย์ 
อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน โดยสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน โดยจับสลากมา 1 ห้องเรียนจากจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 4 ห้องเรียนและจับสลากแบ่งนักเรียนในกลุ่มที่สุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน แล้วจับสลากอีกครั้งเพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม

ตัวแปรศึกษา 🌻

1.ตัวแปรอิสระ  ได้แก่ กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย  ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 
           1.1  กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
           1.2  กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ
2. ตัวแปรตาม   ได้แก่ ความสามารถในการคิดทางบวก
            2.1   การคิดทางบวกต่อตนเอง
            2.2   การคิดทางบวกต่อผู้อื่น
            2.3   การคิดทางบวกต่อสังคม

ระยะเวลาในการทดลอง 🌾

            การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30-40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง    

📌📌 สรุปการวิจัย  📌📌

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถในการคิดทางบวก  หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 โดยรวมและรายด้าน
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  มีความสามารถในการคิดทางบวก  แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
โดยรวมและรายด้าน



🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น