🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓
📐 สรุปวิจัยคณิตศาสตร์ 📏
เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
โดย
นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ
👇👇👇👇
💌 คลิกดูวิจัยได้ที่นี่ 💌
เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
โดย
นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ
👇👇👇👇
💌 คลิกดูวิจัยได้ที่นี่ 💌
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 💥
1.เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับ การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
กับ การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
ขอบเขตของการวิจัย 💫
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนอนุบาลกาญจณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจณบุรี เขต 1 จากนักเรียน
6 ห้องเรียน จำนวน 180 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจณบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน
ซึ่งได้จากการสุ่มตัวออย่างอย่างง่าย โดยใส่หมายเลขห้องเรียนทั้ง 6 ห้อง ได้แก่ อนุบาล 2/1 - อนุบาล 2/6 แล้วจับฉลากขึ้นมาจำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องอนุบาล 2/4 เป็นห้องทดลอง
และห้องอนุบาล 2/6 เป็นห้องควบคุม
ตัวแปรที่ศึกษา 🌱
1. ตัวแปรอิสระได้แก่
1.1 การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
1.2 การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2. ตัวแปรตาม ได้แก่
2.1 ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย
1) การนับสิ่งต่างๆ เช่น การนับจำนวน 1-10
2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เช่น การจับคู่ภาพกับจำนวน
3) การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เช่น การเปรียบเทียบจำนวนกับจำนวน
หรือ เปรียบเทียบจำนวนกับภาพ
4) การนับจำนวนเพิ่ม-ลด เช่น การบวกภาพ การลบภาพ
2.2 ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
และการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
ขอบเขตของเนื้อหา 🌼
เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์ ได้แก่ เนื้อหาจากหน่วยการจัดประสบการณ์
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 หน่วย คือ ผลไม้น่ากิน ผัดสดสะอาด สัตว์น่าเลี้ยง ผีเสื้อแสนสวย
เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์ ได้แก่ เนื้อหาจากหน่วยการจัดประสบการณ์
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 หน่วย คือ ผลไม้น่ากิน ผัดสดสะอาด สัตว์น่าเลี้ยง ผีเสื้อแสนสวย
ระยะเวลา 🌻
ใช้เวลาในการดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์จำนวน 20 แผน
📌📌 สรุปผลการวิจัย 📌📌
1. หลังจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด ส่วนเรื่องการนับจำนวนเพิ่ม-ลด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
2.ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากในทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่1 ด้านการจัดบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ลำดับที่ 2 ด้านการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 95.05 และพบว่า เด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความพึงพอใจ เรียงลำดับดังนี้ ลำดับที่1 ด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 92.78 ลำดับที่ 3 ด้านกิจกรรมในการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 91.67 โดยด้านบรรยากาศ
เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจมากสูงเท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม
ใช้เวลาในการดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์จำนวน 20 แผน
📌📌 สรุปผลการวิจัย 📌📌
1. หลังจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด ส่วนเรื่องการนับจำนวนเพิ่ม-ลด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
2.ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากในทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่1 ด้านการจัดบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ลำดับที่ 2 ด้านการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 95.05 และพบว่า เด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความพึงพอใจ เรียงลำดับดังนี้ ลำดับที่1 ด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 92.78 ลำดับที่ 3 ด้านกิจกรรมในการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 91.67 โดยด้านบรรยากาศ
เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจมากสูงเท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม
🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น